องค์ประกอบศิลป์ กับ การจัดวางโลโก้ฮวงจุ้ย

องค์ประกอบศิลป์ กับ การจัดวางโลโก้ฮวงจุ้ย  
ธาตุ ทั้ง 5 ในทางฮวงจุ้ยประกอบด้วย น้ำ ไม้ ไฟ ดิน และทอง ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อม และมีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ ซึมลึกถึงความนึกคิดและจินตนาการของผู้คน หากปริมาณธาตุขาดความสมดุล หรือมีปฏิปักษ์ หักล้าง ทำลายกัน แทนที่จะมีอำนาจส่งเสริมกัน มีกระแสเกื้อกูลกัน จะมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ของผู้ที่ได้รับอิทธิพลนั้น
วิธี ที่จะทำให้เกิดพลังที่ดี คือ การผสมผสารธาตุสื่อให้โดดเด่นด้วย “รูปร่างของเส้นสาย” “สี สรรค์” “ความสว่าง” โดยการจัดวางใน “ขนาด” และ “ทิศทาง” ที่ เหมาะสม ถ้าทำให้โดดเด่นทั้งองค์ประกอบทั้งหมด ก็จะถือว่าสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะทำให้บุคคลที่พบเห็นเกิดอารมณ์และความรู้สึกที่ดี (Good feeling) รู้สึกคุ้นเคย เป็นมิตร (Good friendly) และนึกถึงทุกครั้งที่ต้องการสินค้าหรือบริการนั้นๆ (Good Recognition)

 เส้น (Line)        
     เส้น เป็นการเรียงตัวของจุดที่เรียงต่อเนื่องกัน มีลักษณะมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมถึงเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูปร่างรูปทรง
     เส้น ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด ที่สามารถสื่อความหมายที่แสดง ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง ด้วยการสร้างเป็นรูปร่างรูปทรงต่างๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียก และให้ความหมาย และให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย
ลักษณะของเส้น ความหมาย และความรู้สึก
1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทแยงมุม ให้ความรู้สึกถึงเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ไม่มั่นคง
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ หวาดกลัว อันตราย ความขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึกถึงเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวคลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา เมื่อมองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดหาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด
ความสำคัญของเส้น
1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นเป็นมิติ (Form) ชัดขึ้น
4. ทำหน้าที่ให้น้ำหนักอ่อนแก่ของแสงและเงา (การแรเงาด้วยเส้น)
5. ทำหน้าที่เป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ


รูปทรง (Form)
         รูปทรง คือ ลักษณะเป็น 3 มิติ ที่แสดงความกว้าง ความยาว และความลึก หรือความหนา นูน ด้วย เช่น รูปทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกถึงการมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบ
         รูปเรขาคณิต (Geometric Form) เป็นรูปร่างที่แน่นอน เป็นมาตรฐาน สามารถวัดหรือคำนวณหาพื้นที่หรือปริมาตรได้ง่าย เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี เป็นต้น รูปเรขาคณิต เป็นรูปแบบพื้นฐานของรูปทรงต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นอย่างมีแบบแผน เช่น รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องบิน สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรมเสียก่อน
         รูปอินทรีย์ (Organic Form) เป็นรูปสิ่งที่มีชีวิต หรือคล้ายกับสิ่งมีชีวิต ที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างด้วยการเจริญเติบโต หรือด้วยการเคลื่อนไหว เช่น คน สัตว์ พืช
         รูปอิสระ (Free Form) เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นอย่างอิสระ มีลักษณะโครงสร้างที่ไม่แน่นอน เป็นไปตามอิทธิพลหรือการกระทำจากสิ่งแวดล้อม เช่น รูปก้อนเมฆ ก้อนหิน ควันซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว มีพลัง รูปอิสระจะมีลักษณะ ขัด แย้งกับรูปเรขาคณิต แต่กลมกลืน กับรูปอินทรีย์ รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิตหรือรูปอินทรีย์ ที่ถูกกระทำให้มีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่เหลือสภาพ เช่น รถยนต์ที่ถูกชน ไม้ที่ถูกเผา หรือซากสัตว์

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง
         เมื่อ นำรูปทรงมาจัดวางใกล้กัน รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ การดึงดูด หรือผลักส่งซึ่งกันและกัน การประกอบกันของรูปทรง อาจทำได้โดยการใช้รูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รูปทรงที่ต่อเนื่องกัน รูปทรงที่ทับซ้อนกัน รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน รูปทรงที่แทรกเข้าหากัน รูปทรงที่สานรวมเข้าด้วยกัน หรือรูปทรงที่เกี่ยวพันกัน การนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูปอิสระมาประกอบเข้าด้วยกัน จะได้รูปลักษณะใหม่ๆ เกิดขึ้น


แสงและเงา (Light & Shade)
   แสงและเงา เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนักของวัตถุ ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความ เข้มของแสง เงาเป็นองค์ประกอบศิลป์ที่อยู่คู่กันแสง เมื่อส่องกระทบกับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับแสงเสมอ ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะ ได้ดังนี้
  1. Hi-light เป็นบริเวณแสงสว่างจัด ที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด จะมีความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัดเจน
  2. Light เป็นบริเวณแสงสว่าง ที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่างจัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักความเข้มของอ่อน ๆ
  3. Shade เป็นบริเวณที่เกิดเงา เป็นบริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงสว่าง จะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
  4. Hi-Shade เป็นบริเวณเงาเข้มจัด ซึ่งเป็นบริเวณของวัตถุที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือถูกบดบังแสงมากที่สุด จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
  5. Shadow Passed บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณที่อยู่ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้นหลัง ทิศทาง และระยะของเงา
 ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
  1.  ให้ความแตกต่างระหว่างรูป หรือรูปทรง กับ พื้นผิวหรือที่ว่าง
  2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
  3. แสดงความเป็นมิติ เช่น ความลึก ตื้น นูน
  4. ทำให้เกิดระยะระยะใกล้ - ไกล
  5. ทำให้มีความกลมกลืน
8888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888

โลโก้ฮวงจุ้ย,  ออกแบบโลโก้, รับออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ฮวงจุ้ย, รับออกแบบโลโก้ฮวงจุ้ย
Email: plyfasai@gmail.com
Copyright © 2008-2021 by โลโก้ฮวงจุ้ย.com & โลโก้ตรายาง.com & www.ออกแบบโลโก้ฮวงจุ้ย.com, All Rights Reserved.